เมนู

8. อริยวังสสูตร


ว่าด้วยอริยวงศ์ 4 ประการ


[28] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ 4 ประการนี้ ปรากฏว่าเป็น
ธรรมอันเลิศ ยั่งยืนเป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคย
ถูกทอดทิ้งเลย (ในอดีตกาล) ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ (ในปัจจุบันกาล) จักไม่ถูก
ทอดทิ้ง (ในอนาคตกาล) สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว
อริยวงศ์ 4 ประการ คืออะไรบ้าง คือ
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และ
เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ทำอเนสนาการแสวงหา
ไม่สมควร เพราะจีวรเป็นเหตุ ไม่ได้จีวรก็ไม่ทุรนทุราย ได้จีวรแล้วก็ไม่
ติดใจสยบพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ ฉลาดในอุบายที่จะถอนตัวออก บริโภค
(จีวรนั้น) อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้
นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในความสันโดษ
ด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏ
ว่าเป็นธรรมเลิศมาเก่าก่อน.
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และ
เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่ทำอเนสนาการ
แสวงหาไม่สมควรเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่ทุรนทุราย
ได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ติดใจสยบพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ ฉลาดในอุบายที่
จะถอนตัวออก บริโภค (บิณฑบาตนั้น) อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะ.
ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดไม่เกียจร้าน

สัมปชัญญะ มีสติมั่นในความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ภิกษุนี้
เราเรียกว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และ
เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ไม่ทำอเนสนาการ
แสวงหาไม่สมควรเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่ทุรนทุราย
ได้เสนาสนะแล้วก็ไม่ติดใจสยบพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ ฉลาดในอุบายที่
จะถอนตัวออกบริโภค (เสนาสนะนั้น ) อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ
สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดไม่เกียจคร้าน มี
สัมปชัญญะ มีสติมั่นในความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น ภิกษุนี้
เราเรียกว่าผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.
อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีภาวนา (การบำเพ็ญกุศล) เป็นที่ยินดี
ยินดีแล้วในภาวนา เป็นผู้มีปหานะ (การละอกุศล) เป็นที่ยินดี ยินดีแล้ว
ในปหานะ อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดี
เพราะความยินดีในภาวนา เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่ยินดี เพราะความ
ยินดีในปหานะนั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น
ในความยินดีในภาวนาและปหานะนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์
อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.
ภิกษุทั้งหลาย นี้แลอริยวงศ์ 4 ประการ ที่ปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศ
ยั่งยืน เป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลย
(ในอดีตกาล) ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ (ในปัจจุบันกาล) จักไม่ถูกทอดทิ้ง (ใน
อนาคตกาล) สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุผู้ประกอบพร้อมด้วยอริยวงศ์ 4 ประการนี้
แม้หากอยู่ในทิศตะวันออก...ทิศตะวันตก...ทิศเหนือ...ทิศใต้ เธอย่อม

ย่ำยีความไม่ยินดีเสียได้ ความไม่ยินดีหาย่ำยีเธอได้ไม่ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุ
อะไร เพราะเหตุว่าภิกษุผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้ข่นได้ทั้งความไม่ยินดีทั้งความ
ยินดี.
ความไม่ยินดีหาย่ำยีภิกษุผู้มีปัญญา
ได้ไม่ ความไม่ยินดีหาครอบงำภิกษุผู้มี
ปัญญาได้ไม่ แต่ภิกษุผู้มีปัญญาย่ำยีความ
ไม่ยินดีได้ เพราะภิกษุผู้มีปัญญาเป็นผู้ข่ม
ความไม่ยินดีได้.
ใครจะมาขัดขวางภิกษุผู้ละกรรม
ทั้งปวง ผู้ถ่ายถอน (กิเลส) แล้วไว้ (มิให้
บรรลุวิมุตติ) ได้ ใครจะควรติภิกษุ (ผู้
บริสุทธิ์) ดุจแท่งทองชมพูนุทนั้นเล่า แม้
เหล่าเทวดาก็ย่อมชมถึงพรหมก็สรรเสริญ.

จบอริยวังสสูตรที่ 8

อรรถกถาอริยวังสสูตร


อริยวังสสูตรที่ 8 ตั้งขึ้นมีอัธยาศัยของพระองค์เป็นอัตถุปปัตติเหตุ
เกิดเรื่อง ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งเหนือบวรพุทธาสน์ที่เขา
จัดถวาย ณ ธรรมสภา พระเชตวันมหาวิหาร ตรัสเรียกภิกษุสี่หมิ่นรูป ผู้นั่ง
แวดล้อมว่า ภิกฺขเว ดังนี้แล้ว จึงทรงเริ่มมหาอริยวังสสูตรนี้ว่า จตฺตาโรเม
ภิกฺขเว อริยวํสา
เป็นต้น ด้วยอำนาจอัธยาศัยของพระองค์บ้าง ของบุคคล